Next Beyond
หน้าหลักข่าวสารสมัครเป็นนักเขียนสมัครเป็นนักอ่านเข้าสู่ระบบนักเขียน
เข้าสู่ระบบนักอ่าน
BannerBannerBannerBannerBannerBannerBannerBannerBannerBanner
logo

Next Beyond Research Co., Ltd.

ที่ตั้ง:
1 อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้น 47 ยูนิต 4703 (ริเวอร์ 5) ถ.สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กทม. 10120
อีเมล:
bookez.team@gmail.com
เบอร์โทรศัพท์:
020-162-836
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
facebook
Copyright 2025 © NEXT BEYOND RESEARCH

หนังสือโปรโมชั่น

เหลือเวลาอีก1 วัน
เยว่เฟย วีบุรุษกู้เเผ่นดิน
โปรโมชั่น
e-book
เยว่เฟย วีบุรุษกู้เเผ่นดิน

คณะเเปลในรัชกาลที่ ๕

coin99 Coin25 Coin
"ซวยงัก" เป็นนิยายอิงพงศวดารจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง (พ.ศ.๑๕๐๓-๑๘๑๙) ตัวเอกของเรื่องชื่อว่า "เยว่เฟยหรืองักฮุย" มีฉายาว่า ผงกื้อ เกิดในตระกูลยากจน แต่เยว่เฟยมีความกตัญญู รักในการศึกษา ได้เป็นทหารและไปปราบกบฎหลีเซ้ง จนพระเจ้าซ่งเกาจง ทรงมีพระราชหัตถเลขา ๔ อักขระความว่า เยว่เฟย ผู้ซื่อสัตย์จงรักภักดี เป็นธงพระราชทาน แต่ในภายหลัง เยว่เฟยถูกใส่ร้ายและถูกฆ่าเสียเมื่ออายุ ๓๙ ปี ผู้เรียบเรียงมองว่าเยว่เฟย เป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส เป็นยอดคนผู้รักชาติ คุณธรรมของท่านเยว่เฟย มีความน่าเลื่อมใสสูงสุด เยว่เฟย เกิดในราชวงศ์ซ่งเหนือ บริเวณที่ปัจจุบันนี้ คือ อำภอทางยิง เมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน เมื่อครั้งยังเล็ก ณ บ้าน เกิดของเขาเกิดอุทกภัยใหญ่จากการแตกของเขื่อนกั้นแม่น้ำฮวงโห มารดาของเยว่เฟยต้องอุ้มบุตรชายไว้ในอ้อมกอด อาศัยซุกตัวอยู่ในโอ่งลอยตามน้ำไปเรื่อย ๆ เพื่อรักษาชีวิตให้รอด เมื่อล่วงเข้าสู่วัยหนุ่ม ในภาวะที่ประเทศกำลังตกอยู่ในวิกฤตเนื่องจากฮ่องเต้สองพระองค์ของราชวงศ์ซ่งเหนือ คือ ซ่งฮุยจง และซ่งชินจง ถูกพวกจิน (ค.ศ. ๑๑๑๕-ค.ศ. ๑๒๓๔) จับตัวไปเป็นเชลยศึก จนในที่สุดนำมาสู่จุดจบของราชวงศ์ซ่งเหนือ เยว่เฟยเมื่อพบเห็นกับเหตุการณ์ เช่นนี้จึงตั้งปณิธานกับตัวเองไว้ว่าจะต้องกอบกู้ดินแดนที่สูญเสียและชาติกลับคืนมาให้ได้ ความตั้งใจนี้เมื่อประกอบกับการสนับสนุนมารดา เขาจึงสมัครเข้าเป็นทหารรับใช้ให้กับราชวงศ์ซ่งใต้ (ค.ศ. ๑๑๒๗ ค.ศ. ๑๒๗๙) ที่ขณะนั้นฮ่องเต้คือ ซ่งเกาจง ได้ย้ายเมืองหลวงหนีมาทางใต้ จากเปี้ยนเหลียง (ปัจจุบันคือเมืองไคเฟิง) มาอยู่ที่หลินอัน (ปัจจุบันคือเมืองหางโจว) โดยก่อนที่เยว่เฟยจะออกจากบ้านไปรับใช้ชาติ มารดาได้สลักอักษรจีน ๔ ตัวไว้ที่กลางแผ่นหลังของบุตรชาย ความว่า จิงจงเป้ากว๋อ แปลว่า ซื่อตรง ภักดี ตอบแทน ชาติ เยว่เฟยแต่งงานสองครั้ง โดยครั้งแรกตอนอายุ ๑๘ กับภรรยาแซ่หลิว หลังจากนั้น ๑ ปีให้กำเนิดงักฮุง ถัดมาอีก ๗ ปีให้กำเนิดงักลุย ภายหลังเยว่เฟยรับราชการทหารออกชายแดนตลอดประกอบบ้านเกิดถูก กิมก๊กยึดครองขาดการติดต่อ เยว่เฟยอายุประมาณ ๒๖-๒๗ ได้แต่งานใหม่อีกครั้งกับภรรยาแซ่หลี่ให้กำเนิดบุตรอีก ๓ คนคือ งักเส็ง, งักซึง, งักซัง บุตร ๑. งักฮุง (岳雲) ๒. งักลุย (岳雷) ๓. งักเส็ง (岳霖) ๔. งักซึง (岳震) ๕. งักเท็ง (岳霆) ๖. บุตรีงักอางเนี้ย (岳安娘) ๗. บุตรีงักเซียวเออ (岳孝娥) หลาน ๑. งักโพว (岳甫) บุตรของงักฮุง ๒. งักซิง (岳申) บุตรของงักฮุง ๓. งักกอ (岳珂) บุตรของงักเส็ง การรับราชการ เมื่อเข้ารับราชการทหาร เยว่เฟยที่พกความมุ่งมั่นไว้เต็มเปี่ยมก็แสดงความกล้าหาญและสามารถรบชนะสังหารข้าศึกไปเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งผลงานไปเข้าตาแม่ทัพนาม จงเจ๋อ ต่อมาแม่ทัพจงเจ๋อก็ถ่ายทอดวิชาความรู้ในการทำศึกสงครามนานาประการให้กับเยว่เฟยโดยหมดสิ้น โดยหวังว่าเยว่เฟยจะเป็นกำลังสำคัญในการกู้ชาติต่อไป หลังจากที่แม่ทัพจงเจ๋อเสียชีวิต เยว่เฟยก็ได้เป็นผู้สืบทอดในตำแหน่งแม่ทัพต่อ และสร้างผลงานจนได้ดำรงแม่ทัพใหญ่ในตำแหน่ง เจี๋ยตู้สื่อ เมื่ออายุเพียง ๓๒ ปี เท่านั้น แต่ทั้งนี้เยว่เฟยก็มิได้แสดงอาการยโสโอหัง ต่อตำแหน่งใหญ่ของตัวเองแต่อย่างใด ครั้งหนึ่งฮ่องเต้เคยออกปากว่าจะสร้างจวนหลังใหม่ให้ เยว่เฟยกลับตอบปฏิเสธโดยกล่าวตอบฮ่องเต้ไปว่า บ้านเมืองยังไม่สงบ จะให้นึกถึงบ้านตัวเองได้อย่างไร เมื่อก้าวขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่ ชื่อเสียงของเยว่เฟยก็ยิ่งขจรขจาย โดยเฉพาะในแง่ของความเข้มงวดและระเบียบวินัยของกองทัพ มีอยู่ครั้งหนึ่งขณะที่ฝึกซ้อมการรบอยู่นั้น เมื่อบุตรชาย (เย่ว์หยุน) ของเยว่เฟยบังคับม้าศึกควบขึ้นเนินลาดแล้วเกิดบังคับม้าไม่อยู่จนทั้งคนทั้งม้าเสียหลักล้มลง ด้านเยว่เฟยเมื่อทราบดังนั้นก็มิได้แสดงความอาทรต่อบุตรของตัวเองเหนือกว่าพลทหารนายอื่นแต่อย่างใด ออกคำสั่งให้ดำเนินการลงโทษบุตรชายของตนไปตามกฎระเบียบ มากกว่านั้น สิ่งที่ทำให้กองทัพของเยว่เฟยครองใจชาวบ้านมากไปกว่านั้นก็คือ ความซื่อสัตย์ และ ซื่อตรง เมื่อพบว่าพลทหารขอเชือกปอจากชาวบ้านหนึ่งเส้นเพื่อนำมามัดไม้ฟืน เยว่เฟยก็สั่งให้ลงโทษพลทหารผู้นั้น ขณะที่เมื่อกองทัพของเยว่เฟยผ่านไปยังหมู่บ้านใดก็จะตั้งค่ายนอนกันริมทาง แม้ชาวบ้านเชิญให้เหล่าทหารเข้าไปพักผ่อนในบ้านอย่างไรก็ไม่ยินยอม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วว่าในกองทัพของเยว่เฟยมีคำขวัญที่ได้รับการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดประการหนึ่ง คือ "แม้ต้องหนาวตายก็ไม่ขอเบียดเบียนบ้านชาวประชา แม้ต้องอดตายก็จะไม่ปฏิบัติตัวเยี่ยงโจร" ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างเยว่เฟยกับเหล่าทหารในกองทัพก็เป็นไปด้วยความแนบแน่นยิ่ง โดยเมื่อมีพลทหารคนใดป่วยเยว่เฟยก็จะไปเยี่ยมด้วยตัวเอง พร้อมส่งคนไปให้การดูแลครอบครัวของพลทหารผู้นั้น ขณะที่หากเบื้องบนตบรางวัลอะไรให้มา เยว่เฟยก็จะจัดสรรแบ่งปันให้ พลทหารของตนอย่างเท่าเทียมโดยที่ไม่คำนึงว่าจะเหลือตกถึงตนเองหรือไม่ ด้วยเหตุฉะนี้ กองทัพของเยว่เฟยจึงมีความแข็งแกร่งอย่างยิ่ง และเมื่อประกอบกับความรู้ความสามารถในด้านสงครามของเยว่เฟยแล้วก็ทำให้ในการรบทุกครั้งกับชนเผ่าจินนั้น กองทัพเยว่เฟยได้รับชัยชนะอยู่เสมอๆ จน พวกจินนั้นเกิดความเกรงกลัวอย่างมาก จนกระทั่งมีคำกล่าวกันว่า "โยกภูเขานั้นง่าย คลอนทัพเยว่เฟยนั้นยากยิ่ง" ทัพเยว่เฟยประสบชัยชนะกรีฑาทัพขึ้นภาคเหนือเพื่อยึดดินแดนคืนได้มากมาย บุกจนกระทั่งตั้งทัพอยู่ห่างจากเมืองหลวงเดิมเพียง ๒๐ กิโลเมตรเท่านั้น ต่อมาถูกใส่ความ เมื่อเห็นสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ฉินฮุ่ยขุนนางกังฉิน ผู้ซึ่งประจบสอพลอฮ่องเต้ซ่งเกาจงจนได้ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี จึงกราบทูลต่อองค์ฮ่องเต้ว่าทัพของเยว่เฟยนั้นเป็นอุปสรรคต่อการเจรจา สงบศึกกับเผ่าจิน ด้านฮ่องเต้ซ่งเกาจง ก็เชื่อในคำของฉินฮุ่ย และออกโองการบัญชาให้เยว่เฟยถอนทัพกลับมายังเมืองหลวง ทางฝั่งเยว่เฟยแม้จะทักท้วงและออกอาการดื้อดึงเช่นไรก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งพระบัญชาของฮ่องเต้ส่งมาเป็นฉบับที่ ๑๒ เยว่เฟยจึงถอดใจ พร้อมกับทอดถอนใจรำพึงกับตัวเองด้วยความช้ำใจอย่างสุดแสนว่า ความพากเพียร ๑๐ ปีของตนกลับต้องกลายเป็นเพียงเถ้าธุลีในพริบตา เมื่อเยว่เฟยปฏิบัติตามพระบัญชาถอนทัพกลับมายังเมืองหลวง ฉินฮุ่ยก็ใส่ร้ายว่าเยว่เฟยนั้นมักใหญ่ใฝ่สูง คิดการณ์ใหญ่จะก่อกบฏล้มล้างราชสำนัก เยว่เฟยได้ฟังดังนั้นก็ไม่โต้ตอบอะไรด้วยคำกล่าวอะไร เพียงแต่คลายชุดท่อนบนของตนออก เผยให้ฉินฮุ่ยเห็นถึงคำว่า "จิงจงเป้ากว๋อ" อักษรสี่ตัวที่มารดาสลักไว้ด้านหลัง ขุนนางกังฉินเมื่อเห็นดังนั้นก็ชะงัก เอ่ยปากอะไรไม่ออกแม้แต่คำเดียว อย่างไรก็ตาม ฉินฮุ่ยก็ยังไม่ยอมลดละความพยายามในการป้ายสีเยว่เฟยต่าง ๆ นานา แม้จะตรวจไม่พบความผิดใด ๆ ก็ตาม แต่ในที่สุดฉินฮุ่ยก็ปั้นเรื่องจนทำให้เยว่เฟยต้องถูกโทษประหารในที่สุด โดยเมื่อมีขุนนางฝ่ายเยว่เฟยคนอื่น ๆ ทักท้วง และตั้งคำถามฉินฮุ่ยว่ามีหลักฐานในการกล่าวโทษเยว่เฟยหรือไม่ ฉินฮุ่ยก็ตอบว่า "อาจจะมีก็ได้" คำตอบของฉินฮุ่ยที่ว่า "อาจจะมีก็ได้" นี้ ภายหลังกลายเป็นศัพท์ที่ถูกจารึกไว้ต่อ ๆ มาว่ามีความหมาย คือการให้ร้ายผู้อื่นโดยปราศจากหลักฐาน จากวีรกรรมของเยว่เฟย ได้รับการยกย่องทั้งอักษรศาสตร์ และยุทธศาสตร์ ยากจะหาใครเสมอเหมือน นิยายเรื่องนี้จะให้ความสนุกสนาน ความบันเทิง สาระอันประเทืองปัญญาให้งอกงามททั้งนี้ในวันที่เยว่เฟยถูกประหารชีวิต ก็มีพลเมืองดีที่รู้เรื่องราวและเคารพรักในตัวเยว่เฟยนำศพของเขามาทำพิธีฝังศพ โดยเวลาต่อมาได้มีการเคลื่อนย้ายหลุมฝังศพของเยว่เฟยมาตั้งไว้ริมทะเลสาบซีหู ณ เมืองหางโจว ณ ปัจจุบัน ศาลเจ้าเยว่เฟยที่ริมทะเลสาบซีหู เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของจีน พร้อมกับได้มีการสร้างรูปปั้นทองแดงฉินฮุ่ยและภรรยาเพื่อให้ผู้คนถุยน้ำลายใส่เพื่อเป็นการประณามด้วย เยว่เฟย ได้รับยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์มาอย่างช้านาน จนกระทั่งในยุคราชวงศ์ชิงจึงมีการเปลี่ยนเป็นกวนอู ด้วยเหตุผลทางการเมือง เนื่องจากชาวแมนจู ซึ่งเป็นผู้ปกครองในยุคราชวงศ์ชิง ต้องการให้ชาวฮั่น ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่เลิกอุดมการณ์ในการต่อต้านตน เนื่องจากเยว่เฟยนั้นมีศัตรูคู่แค้นคือ ชนเผ่านอกด่าน แต่ขณะที่กวนอูและจ๊กก๊กไม่มีพฤติกรรมเช่นนี้ ซ้ำบางครั้งยังใช้ชนต่างเผ่าเป็นประโยชน์เสียด้วยซ้ำ เยว่เฟย (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ เยว่ เฟย์ (สำเนียงจีนกลาง ) เป็นนักรบกู้ชาติคนสำคัญซึ่งมีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งในประวัติศาสตร์ประเทศจีน มีชีวิตอยู่ในยุคราชวงศ์ซ่งใต้ เป็นแม่ทัพผู้ต่อต้านการรุกรานของชนเผ่าจิน ถูกใส่ความโดยศัตรูทางการเมืองจนต้องโทษประหารชีวิต หลังจากนั้นจึงได้รับยกย่องเป็นแบบอย่างแห่งความซื่อสัตย์ในวัฒนธรรมจีน ในปี ค.ศ. ๑๑๓๔ จักรพรรดิซ่งเกาจงได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น อู่ชางเสี้ยนไคกว๋อจึ (武昌縣開國子) ถัดมาเดือนกุมภาพันธ์ ปีที่๒ ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น อู่ชางจวินไคกว๋อโหว (武昌郡開國侯) ในปีเดียวกันเดือนกันยายนได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น อู่ชางจวินไคกว๋อกง (武昌郡開國公) ภายหลังในปี ค.ศ.๑๒๐๔ จักรพรรดิซ่งหนิงจงได้ยกย่องวีรกรรมของ เยว่เฟยและพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น งักอ๋อง โดยเนื้อความในราชโองการว่า เยว่เฟยจงรักภักดีสละชีพเพื่อชาติ เกียรติประวัติสืบมา ถึงแม้กลับมารับราชการ ยังไม่เสร็จสิ้นการยกย่องสรรเสริญ พระราชทานบรรดาศักดิ์กรณีพิเศษเป็นอ๋อง "岳飛忠義殉國,風烈如存,雖巳追復原官,未盡褒嘉之典,可特與追封王爵" #เยว่เฟยวีบุรุษกู้เเผ่นดิน #คณะเเปลในรัชกาลที่๕ #อิงประวัติศาสตร์ #อิงการเมือง #แปลจีน
เหลือเวลาอีก1 วัน
ตำราทางยกทัพ สำรวจคราวเตรียมรบพม่า ในรัชกาลที่ 2
โปรโมชั่น
e-book
ตำราทางยกทัพ สำรวจคราวเตรียมรบพม่า ในรัชกาลที่ 2

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช

coin99 Coin5 Coin
คำอธิบายตำราทางยกทัพ ตำราทางยกทัพที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ มีเนื้อความปรากฎในต้นฉบับ ประกอบกับหนังสือพระราชพงศาวดารว่า รวบรวมในรัชกาลที่ ๒ คราวเตรียมจะรบกับพม่าเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓ เรื่องมุลเหตุที่เกิดเตรียมการสงครามคราวนี้ในหนังสือพงศาวดารทั้ง ๒ ฝ่ายยุติต้องกันว่า เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๖๒ พระเจ้าปะดุง ซึ่งได้ทำสงครามขับเคี่ยวมากับไทยในรัชกาลที่ ๑ นั้น สิ้นพระชนม์ จักกายแมงราชนัดดาได้รับรัชทายาท แลเมื่อพระเจ้าจักกายแมงขึ้นครองราชสมบัติ ไพร่บ้านพลเมืองไม่เปนปรกติ พระเจ้าจักกายแมงเกรงจะเกิดขบถขึ้นในแผ่นดินพม่า พอถึงปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓ ได้ข่าวออกไปถึงเมืองอังวะว่า ที่ในเมืองไทยเกิดไข้อหิวาตะกะโรค ผู้คนล้มตายระส่ำระสายมาก พระเจ้าจักกายแมงเห็นเปนโอกาศจึงคิดจะยกกองทัพมาตีเมืองไทย ให้ราษฎรเห็นว่าเข้มแขงในการศึกสงครามเหมือนเช่นพระเจ้าปะดุงผู้เปนไอยกา แลครั้งนั้นประจวบเวลาเจ้าพระยาไทรปะแงรันเกิดวิวาทกับตนกูสนูน้องชาย ซึ่งเปนที่พระยาอภัยนุราชเจ้าเมืองสตูล เจ้าพระยานคร (น้อย) เข้ากับพระยาอภัยนุราช เจ้าพระยาไทรปะแงรันจึงเอาใจออกหากไปเข้ากับพม่า รับว่าถ้าพม่ายกกองทัพมาตีเมืองไทยเมื่อใด เจ้าพระยาไทร ฯ จะยกกองทัพตีขึ้นมาทางเมืองนครอิกทาง ๑ พระเจ้าจักกายแมงเห็นได้ที จึงให้เกณฑ์คนในหัวเมืองพม่า ตลอดจนเมืองแปรแลหัวเมืองมอญข้างฝ่ายใต้ ให้หวุ่นคยีมหาเสนาบดีเปนแม่ทัพใหญ่ หวุ่นคยีนรทาเปนปลัดทัพ มาตั้งประชุมพลแลรวบรวมเสบียงอาหารที่เมืองเมาะตมะ อย่างเคยเตรียมทัพที่ยกมาตีเมืองไทยครั้งก่อน ๆ ในขณะนั้น กองมอญอาทมาตข้างฝ่ายไทยออกไปตระเวนด่านตามเคย พวกกองอาทมาตเข้าไปถึงเมืองเร้ ซึ่งเปนหัวเมืองมอญ อยู่ข้างเหนือเมืองทวาย พบพม่าที่ถือท้องตราลงมาเกณฑ์คนเข้ากองทัพ จึงจับตัวแลได้ท้องตราพม่าเข้ามาส่งยังกรุงเทพ ฯ เมื่อเดือน ๑๑ ปีมะโรงโทศกนั้น พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย จึงโปรด ฯ ให้เกณฑ์กองทัพ ๕ ทัพ แต่จำนวนพลเท่าใดหาปรากฎไม่ กองทัพที่ ๑ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ คือพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เปนแม่ทัพยกไปตั้งอยู่ตำบลปากแพรกที่ตั้งเมืองกาญจนบุรีบัดนี้ คอยต่อสู้กองทัพพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ทัพ ๑ กองทัพที่ ๒ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ คือกรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลที่ ๓ ยกไปตั้งอยู่ที่เมืองเพ็ชรบุรี คอยต่อสู้กองทัพพม่า ที่จะยกเข้ามาทางด่านสิงขรทัพ ๑ กองทัพที่ ๓ เปน กองทัพน้อย ให้เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์เปนแม่ทัพ ตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรี คอยต่อสู้กองทัพพม่าที่จะยกมาจากเมืองทวายทัพ ๑ กองทัพที่ ๔ เห็นจะเปนกองทัพน้อย ให้พระยากลาโหมราชเสนาไปตั้งรักษาเมืองกลางทัพ ๑ กองทัพที่ ๕ เตรียมไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ให้เจ้าพระยานคร (น้อย) เวลานั้นยังเปนแต่พระยานคร ฯ เปนแม่ทัพ พระยาวิชิตณรงค์เปนปลัดทัพ พระพงศ์นรินทร์เปนยกรบัตรทัพ คอยต่อสู้ข้าศึกที่จะยกมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ทัพ ๑ เข้าใจว่ายังมีกองทัพที่ ๖ อิกทัพหนึ่ง ซึ่งมิได้ปรากฎในจดหมายเหตุ มีแต่เค้าเงื่อนในระยะทางยกทัพฝ่ายเหนือที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ ดูเหมือนเจ้านายจะเปนแม่ทัพ สันนิษฐานว่าเห็นจะเปน เจ้าสามกรมซึ่งเปนโอรสกรมพระราชวังหลัง คือกรมหมื่นนราเทเวศร์ กรมหมื่นนเรศร์โยธี กรมหมื่นเสนีบริรักษ์ พระองค์ใดพระองค์หนึ่งฤาทั้ง ๓ พระองค์ด้วยกัน ขึ้นไปตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านแคแขวงเมืองตาก จึงเรียกในระยะทางที่สำรวจว่าตำหนักบ้านแค กองทัพนี้คอยต่อสู้พม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา แลช่วยรักษาเมืองเชียงใหม่เผื่อพม่าจะยกมาตีทางนั้นด้วย มีชื่อตำหนักมั่นอยู่ในระยะทางที่สำรวจอิกแห่งหนึ่ง อยู่ในชานเมืองเชียงใหม่ทีเดียว บางที่จะโปรดให้เจ้านายใน ๓ พระองค์นั้นขึ้นไปตั้งอยู่ที่เมืองเชียงใหม่พระองค์ ๑ ก็จะเปนได้ ในคราวเตรียมรบพม่าซึ่งกล่าวมานี้ ที่สำรวจระยะทางสำหรับยกกองทัพและส่งเสบียงอาหารถึงกัน ดังปรากฎอยู่ในสมุดเล่มนี้ แต่การที่เตรียมรบพม่าครั้งนั้นหาได้รบกันไม่ ได้ความปรากฏในพงศาวดารพม่าว่า แม่ทัพพม่าให้คนเข้ามาสอดแนม ได้ความว่ามีกองทัพไทยออกไปตั้งสกัดอยู่ เห็นว่าไทยรู้ตัวก็ไม่อาจยกเข้ามาเมื่อปีมะโรง เปนแต่ทั้งคุมเชิงกันอยู่ จนเข้ารดูฝนปีมะเสง พ.ศ. ๒๓๖๔ พ้นระดูที่จะเดินทัพแล้ว พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย จึงโปรดให้กองทัพกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับกองทัพกรมหมื่นศักดิพลเสพกลับคืนเข้ามากรุงเทพ ฯ ให้เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ คุมกองทัพตั้งรักษาอยู่ที่เมืองราชบุรีแห่งเดียว ครั้นกองทัพพระยากลาโหมราชเสนากลับเข้ามาจากเมืองถลาง โปรดให้พระยากลาโหมราชเสนา หนุนไปตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรีอิกทัพ ๑ จนถึงระดูแล้ง ปลายปีมะเสง ทางเมืองพม่าพวกเมืองมณีบุระกำเริบขึ้นทางชายแดนข้างฝ่ายเหนือ พระเจ้าอังวะต้องถอนกองทัพที่เตรียมไว้ข้างใต้ขึ้นไปรบกับพวกเมืองมณีบุระ ฝ่ายกรุงเทพ ฯ สืบได้ความว่าพม่าเลิกทัพไปหมดแล้ว ก็เลิกการที่ได้ตระเตรียม เรื่องราวมีปรากฏดังได้แสดงมานี้. ข้อควรรู้ เกี่ยวกับคำว่า "เส้น" (ผู้เรียบเรียง) ในตำราเล่มนี้ ๑ เส้นยาวเท่ากับกี่กิโลเมตรกันแน่ ขออธิบายว่า ๑ เส้น = ๔๐ เมตร ๑๐๐ เส้น = ๔,๐๐๐ เมตร หรือ ๔ กิโลเมตร หรือ ๑ เส้น = ๐.๐๔ กิโลเมตร ๑ เส้น เท่ากับ ๐.๐๔ กิโลเมตร สูตรการแปลงเป็นกิโลเมตร กิโลเมตร = เส้น × ๐.๐๔ #ตำราทางยกทัพสำรวจคราวเตรียมรบพม่าในรัชกาลที่2 #พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงอดิศรอุดมเดช #อิงประวัติศาสตร์ #อิงการเมือง #ความรู้ทั่วไป
เหลือเวลาอีก1 วัน
กามนิต
โปรโมชั่น
e-book
กามนิต

คาร์ล แอดอล์ฟ เกลเลอโรป เเปลโดยเสฐียรโกเศศ–นาคะประทีป

coin99 Coin25 Coin
กามนิต หรือDer Pilger Kamanita ในภาษาเยอรมัน กามนิตเป็นวรรณกรรมประเภทนวนิยายอิงพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงมาก ประพันธ์ใน ค.ศ. ๑๙๐๖ โดยคาร์ล แอดอล์ฟ เกลเลอโรป นักประพันธ์ ชาวเดนมาร์ก ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมใน ค.ศ. ๑๙๑๗ หนังสือกามนิตได้รับการยกย่องให้เป็นหนังสือดี ๑๐๐ เล่มที่คนไทยควรอ่าน ฉบับภาษาไทยแปลโดยเสฐียรโกเศศนาคะประทีป ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ โดยแปลจากฉบับภาษาอังกฤษ (The Pilgrim Kamanita) ซึ่งแปลมาจากต้นฉบับภาษาเยอรมัน (Der Pilger Kamanita) อีกทอดหนึ่ง ในเรื่องกามนิต กล่าวถึงบุรุษผู้หนึ่งผู้ซึ่งมีนามว่า กามนิต ผู้ที่หวังจะได้เข้าพบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อจะได้ขจัดความทุกข์ต่าง ๆ ที่ตนได้เผชิญมา และเพื่อจะได้พบกับความสุขอันเป็นนิรันดร์ ในระหว่าง การเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น กามนิตได้เข้าขอพักที่บ้านของช่างปั้นหม้อท่านหนึ่งเป็นการชั่วคราว และในวันเดียวกันนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้เสด็จมาขอพักอาศัยที่บ้านหลังนั้นด้วยพอดี กามนิตจึงได้มีโอกาสเล่าเรื่องของตนเองและสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าโดยที่ไม่รู้เลยว่า สมณะที่สนทนาอยู่นั้นคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง เรื่องราวดำเนินส่วนแรกเป็นภาคพื้นดิน และต่อในส่วนหลังเป็นภาคสวรรค์ กามนิตได้เสียชีวิตระหว่างเดินทางเพื่อจะได้พบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไปเกิดเป็นเทวดาและพบกับวาสิฏฐี ทั้งสองได้เล่าเรื่องราวชีวิตหลังความรักในโลกมนุษย์ ประสบการณ์แห่งการไขว่คว้าหากันจนได้มาพบเจอ พุทธศาสนา ตลอดจนการเห็น การเกิดดับของสรรพสิ่งที่แม้แต่สวรรค์และพรหมก็หลีกหนีไม่พ้นความเปลี่ยนแปลง มีแต่บรมสุขแห่งพระนิพพานที่เป็นทางออกแห่งการเดินทางอันยาวนานนี้ วาสิฏฐีได้เข้าถึงความจริงนี้ก่อน ทำให้กามนิตได้รู้ว่าบุคคลที่ตนพบในบ้านช่างปั้นหม้อและได้ให้สัจธรรมแห่งความจริงไว้พิจารณาคือใคร การไม่ต้องเวียนว่ายอีกต่อไปเป็นเช่นไรในที่สุด ในเรื่องกามนิตนี้ มีกามนิตและวาสิฏฐีเป็นตัวเอก และนอกจาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังมีองคุลิมาล พระอานนท์ และพระสารีบุตรปรากฏในเรื่องอีกด้วย เป็นการเชื่อมโยงหลักธรรมในพุทธศาสนากับ ความจริงแห่งความรักได้อย่างลึกซึ้งและกินใจ เดิมหนังสือไม่ได้มีการ แบ่งเล่มเป็นสองภาค แต่ได้มีการแบ่งภาคเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาทำ ความเข้าใจส่วนภาคสวรรค์และประเด็นเรื่องนักบวชหญิงและภิกษุณี #กามนิต #คาร์ลแอดอล์ฟเกลเลอโรป #เสฐียรโกเศศนาคะประทีป #เสียดสีสังคม #อิงศาสนา #อิงวรรณคดี
เหลือเวลาอีก1 วัน
ทหารเอกพระบัณฑูร
โปรโมชั่น
e-book
ทหารเอกพระบัณฑูร

ไม้เมืองเดิม

coin99 Coin25 Coin
ตัวละครสำคัญ ๑. หลวงกลาโหมราชเสนา (เดือน) ๒. องค์หญิง ธิดาของพระบัณฑูร ๓. สมเด็จเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ๔. ขุนจิตรสุนทร (ใย) ๕. ยมโดย ๖. ครูดาบ ๗. จมื่นศรีสรลักษณ์ (ฉิม) ๘. ขุนฤทธิ์ ๙. นายภูบาล ๑๐. ขุนราชมสงคราม พระบัณฑูร นั้น หมายถึงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อุปราช" (ผู้ที่จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อไป)ในเรื่องนี้ คือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศน์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) "ทหารเอกพระบัญฑูร" ไม้ เมืองเดิม ได้ใช้หนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา และประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๓ เรื่องกรุงเก่า กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ สร้างเป็น นวนิยายขนาดสั้น ที่จับเหตุการณ์ตอน "เจ้าฟ้าธรรมธแบศ" ทรงลอบเป็นชู้กับ เจ้าฟ้าสังวาล ต่อมากรมหมื่นจิตสุนทร หนึ่งในเจ้าสามกรม ที่มีความแค้น เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ จึงได้กราบบังคมทูลให้ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ" ทรงทราบ ทำให้เกิดการไต่สวนเรื่องนี้ขึ้น โดยเจ้าฟ้าธรรมธิเบศทรงรับว่าเป็นความจริง ทำให้ทรงถูกประหารชีวิตด้วยท่อนจันทน์ มิหนำซ้ำยังสั่งให้ ขุนจิตร์สุนทร กับขุนฤทธิ์ภักดี ควบคุมตัว องค์หญิง พระขนิษฐา(น้องสาว)ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ไปคุมขัง แต่ หลวงกลาโหม ราชองครักษ์เอกรของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์มาขัดขวางและฆ่า ขุนฤทธิ์ฯ เสียชีวิต หลวงกลาโหมพาเจ้าหญิงไปประทับที่ตำหนักของ เจ้าฟ้าอุทุมพร เสด็จฯอาขององค์หญิง ก่อนจะหนีไปหลบซ่อนตัว ในเนื้อเรื่องกล่าวถึงพระเอก คือ "เดือน" หรือออกหลวงกลาโหม ทหารเอกของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศน์ เดือนนั้นผูกรักกับ "ยมโดย" ข้าหลวงในพระองค์หญิงธิดาในเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ เมื่อเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศน์ต้องโทษจนเสด็จทิวงคต เดือนก็พาพระองค์หญิงและยมโดย สาวคนรักผ่าวงล้อมของกรมหมื่นจิตรสุนทรที่อ้างราชโองการมาจับกุม การในครั้งนี้ ทำให้เดือนต้องอาญาแผ่นดิน และจำต้องหลีกลี้หนีไป แม้จะมีฝีมือเป็นเอก แต่ตัวนั้นสังกัดเจ้านายผิด ชีวิตราชการก็ไม่อาจเจริญก้าวหน้า สองปีผ่านไป กรมหมื่นเทพพินิธ ชวนเดือน(ผ่านพระองค์หญิง )ให้กลับมาเป็นทหารสนับสนุนฝ่ายเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (เจ้าฟ้าอุทุมพร)ให้ขึ้นครองราช ด้วยขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมโกศใกล้เสด็จสวรรคต และเจ้าสามพระยาต่างก็ตระเตรียมผู้คนเพื่อทำการใหญ่ เวลาผ่านไป เมื่อเจ้าฟ้าอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ไม่นาน ก็ถวายราชสมบัติให้พระเชษฐา เจ้าฟ้าเอกทัศน์ แล้วพระองค์ทรงออกผนวช เดือนเอง จึงจำต้องลี้ภัย ออกบวชตามเจ้านาย เหตุก็เพราะเจ้าฟ้าเอกทัศน์ แต่งตั้ง พี่ชายน้องชายของสนมเอกเป็นพระยาราชมนตรีบริรักษ์และจมื่นศรีสรรักษ์ ซึ่งทั้งสองเกิดลุแก่อำนาจกระทำการหยาบช้าต่าง ๆ นานา จนข้าราชการผู้ใหญ่ คิดกบฏ รวมถึงเดือนซึ่งขณะนั้นบวชเป็นพระก็ถูกเชิญมาให้เป็น คณะผู้ก่อการด้วย หากแต่เคราะห์ซ้ำกรรมซัด คณะก่อการกระทำการไม่สำเร็จ เดือนต้องโทษหลายปี จนพม่ายกทัพเข้ามาล้อมกรุงนั่นแล จึงได้อภัยโทษออกมาเป็นกำลังให้กองทัพ สิ่งที่น่าสลด หดหู่หัวใจซึ่งเดือนรับรู้หลังพ้นโทษก็คือ ยมโดยสาวคนรักนั้นได้ออกเรือนไปเสียแล้ว .... #ทหารเอกพระบัณฑูร #ไม้เมืองเดิม #รักสามเส้า #พีเรียด #ไทยโบราณ #อิงวรรณคดี
เหลือเวลาอีก1 วัน
สุภาษิตขงจื๊อ
โปรโมชั่น
e-book
สุภาษิตขงจื๊อ

พระอมรโมลี สถิต

coin99 Coin12 Coin
สุภาษิตขงจื๊อ ซึ่งพระอมรโมลี สถิต ณ วัดราชบุรณ แปลไว้เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๙ เรื่องหนึ่ง กับเรื่องนางเคงเกียงสอนบุตร ซึ่งในบานแพนกจดไว้ว่า "เป็นของพระยาศรีสุนทรโวหารคัดไว้" อีกเรื่องหนังสือสองเรื่องนี้ เป็นเรื่องขนาดเล็ก สมควรจะรวมกันได้ และในต้นฉบับสุภาษิตขงจื๊อ ยังมีเรื่องคนร้อยจำพวกจดไว้อีกเรื่องหนึ่ง แม้จะไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับสุภาษิตขงจื๊อ แต่ถ้าจะทิ้งเสียก็เสียดาย เพื่อรักษาสำนวนและความคิดของเก่า จึงได้คัดมารวมไว้ในที่นี้ด้วย ซึ่งทั้งสามเรื่องมีลักษณะเนื้อหาที่เป็นคติ สอนให้กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ สอนให้ตั้งตนให้เป็นคนดี และอย่างอื่น อันเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ได้อ่านแล้วไตร่ตรองนำไปปฏิบัติตาม #สุภาษิตขงจื๊อ #พระอมรโมลีสถิต #เพื่อชีวิต #เสียดสีสังคม #อิงศาสนา
เหลือเวลาอีก1 วัน
Vetala นิทานเวตาล
โปรโมชั่น
e-book
Vetala นิทานเวตาล

ศิวทาส เเปล น.ม.ส.

coin99 Coin25 Coin
พระวิกรมาทิตย์หรือพระวิกรมเสน กษัตริย์ในตำนานของอินเดียโบราณ ได้รับปากกับโยคีชื่อ "ศานติศีล" จะไปนำตัวเวตาล อมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายศพมนุษย์ผสมค้างคาว ซึ่งห้อยหัวอยู่กับต้นอโศก มาให้แก่ฤๅษีเพื่อใช้ในพิธีบูชาเจ้าแม่กาลี โดยมีพระธรรมธวัชผู้เป็นโอรสติดตามไปด้วย เมื่อพระองค์จับตัวเวตาลได้แล้ว เวตาลก็จะพยายามยั่วให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสออกมาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ โดยการการเล่านิทานอุทาหรณ์ต่าง ๆ แล้วให้พระวิกรมาทิตย์ตัดสินเรื่องราวในนิทานเหล่านั้น ด้วยขัตติยะมานะของกษัตริย์ทำให้พระวิกรมาทิตย์อดไม่ได้ที่จะตรัสพระราชวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องราวในนิทานอยู่เสมอ ผลก็คือเวตาลได้ลอยกลับไปอยู่ที่ต้นอโศกอันเป็นที่อยู่ของตน ทำให้พระวิกรมาทิตย์จำต้องกลับไปจับเอาเวตาลกลับมาใหม่ทุกครั้ง เป็นเช่นนี้อยู่ถึง 24 ครั้ง ในครั้งที่ 25 พระธรรมธวัชได้สะกิดเตือนมิให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสคำใด ๆ ออกมา พระวิกรมาทิตย์ก็ระงับใจไม่เอื้อนพระโอษฐ์ตรัสพระกระแสใด ๆ ออกมา เวตาลจึงยอมให้พระองค์พาตนไปให้โยคีศานติศีลนั้นได้ ท้ายเรื่องของนิทานเวตาลมีอยู่ว่า ระหว่างทางที่พระวิกรมาทิตย์พาเวตาลไปหาโยคีนั้นเอง เวตาลก็ได้เปิดเผยว่าแท้จริงแล้วโยคีศานติศีลมีความแค้นกับพระวิกรมาทิตย์อยู่ ซึ่งเป็นความแค้นที่ก่อโดยพระบิดาของพระวิกรมาทิตย์ จึงหวังที่จะปลงพระชนม์ของพระองค์เสีย พร้อมกันนี้เวตาลก็แนะนำให้พระองค์ทำเป็นเชื่อฟังคำของโยคีนั้นแล้วหาทางฆ่าเสีย พระวิกรมาทิตย์ก็ได้ทำตามคำแนะนำดังกล่าว และรอดพ้นจากการทำร้ายของโยคีนั้นได้ #Vetalaนิทานเวตาล #ศิวทาสเเปลนมส #เสียดสีสังคม #ตื่นเต้นผจญภัย #บู๊แอ็คชั่น #อิงศาสนา
เหลือเวลาอีก1 วัน
108 ผู้กล้าเเห่งเขาเหลียงซาน (ซ้องกั๋ง)
โปรโมชั่น
e-book
108 ผู้กล้าเเห่งเขาเหลียงซาน (ซ้องกั๋ง)

ชือ ไน่อัน (施耐庵)

coin99 Coin25 Coin
ในยุคเป่ยซ่งขุนนางกังฉินเรืองอำนาจ อาณาประชาราษฏร์ทุกข์ยากลำเค็ญ ภายในเขตซันตง มีซ่งเจียง หลินชง อู่ซง หลู่จื้อเซิน เป็นอาทิ ได้รวบรวมวีรบุรุษผู้กล้าซึ่งเปี่ยมด้วยคุณธรรมและความกล้าหาญ 108 คนลุกขึ้นกำจัดสิ่งชั่วร้ายแทนสวรรค์ ต่อสู้กับขุนนางที่ฉ้อราษฏร์บังหลวง งัดข้อกับอำนาจบาตรใหญ่ เพื่อความผาสุกของอาณาประชาราษฏร์ ต่อมา ภายใต้การนำของซ่งเจียง วีรบุรุษผู้กล้าแห่งเหลียงซาน ต่างก็เป็นที่ยอมรับ #108ผู้กล้าเเห่งเขาเหลียงซาน #ซ้องกั๋ง #ชือไน่อัน施耐庵 #อิงประวัติศาสตร์ #อิงการเมือง #แปลจีน
เหลือเวลาอีก1 วัน
สงครามมหาภารตะ
โปรโมชั่น
e-book
สงครามมหาภารตะ

ฐากูรราเชนทรสิงห์ เเปล: ร.อ.หลวงบวรวรรณรักษ์

coin99 Coin25 Coin
"มหาภารตยุทธ์" เป็นวรรณคดีอินเดียที่ชาวอินเดียแทบทุกคนต้องรู้จัก เป็นวรรณคดีที่บอกเล่าเรื่องราว การยุทธ์หรือการสงคราม ของชาวอินเดียตอนเหนือที่มักมีการรบพุ่งฆ่าฟันกัน และปรากฏสงคราม ครั้งใหญ่ขึ้นในช่วงก่อน พ.ศ. ประมาณ ๘๐๐ หรือ ๙๐๐ ปี. มหาภารตะ (महाभारत) บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า "ภารตะ" เป็นหนึ่งในสอง ของมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย (มหากาพย์อีกเรื่องคือ รามายณะ) มหากาพย์เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งของ เทพปกรณัมในศาสนาฮินดู ในตามตำนานกล่าวว่าผู้แต่งมหากาพย์เรื่องนี้คือ ฤๅษี กฤษณไทวปายน หรือฤๅษีวยาส เชื่อกันว่าแต่งไว้ราว ๘๐๐-๙๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก ด้วยมีจำนวนคำ ๑.๘ ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณ มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องเกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น มหาภารตะ เป็นเรื่องราวความขัดแย้งของพี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็ สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตรของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะและฝ่ายอธรรม ความดีและความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้ ตัวละคร ๑. ท้าวภีษมะ โอรสองค์ที่แปดของพระราชาศานตนุ ภายหลังได้สละสิทธิ์การครองราชย์ เป็นผู้ดูแลราชบัลลังก์กุรุสู้ร่วมกับฝ่ายเการพ ภีษมะถือเป็นแบบอย่างของการเสียสละ ความรับผิดชอบ และความอดทน ๒. ท้าวทรุปัท พระราชาแห่งแคว้นปัลจาละ มีโอรสธิดาสามองค์ คือ ศิขัณฑิน ธฤษฏะทยุมัน เทราปที ถูกโทรณาจารย์ฆ่าตาย พ่อตาฝ่ายปาณฑพ ๓. ธฤษฏะทยุมัน โอรสองค์โตของท้าวทุรบท เป็นผู้สังหารโทรณาจารย์ในสงคราม ๔. ศิขัณฑิน ชาติที่แล้วคือเจ้าหญิงอัมพา กลับมาเกิดเป็นหญิง ภายหลังแลกเพศกับอสูร เป็นคนสำคัญที่ช่วยอรชุนสังหาร ภีษมะ ๕. เทราปตี (อ่านว่า ทะเรา-ปะ-ตี) ธิดาท้าวทรุปัท ภายหลังเป็นชายาของอรชุนและพี่น้อง ๖. พระกฤษณะ อวตารของพระวิษณุ สหายของอรชุน เป็นผู้ให้การสนับสนุนชี้นำฝ่ายปาณฑพ ๗. พระพลราม อวตารของพระอนันตนาคราช(บังลังก์ของ พระวิษณุอันเป็นนาค) พี่ชายพระกฤษณะ เป็นอาจารย์ของ ภีมะและทุรโยธน์ ๘. โทรณาจารย์ (อ่านว่า โท-ระ-นา-จาน) พระอาจารย์ของอรชุนและเหล่ากษัตริย์ที่ร่วมรบในสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร ๙. ท้าวศัลยะ พี่ชายพระนางมาทรี เป็นลุงของนกุลและสหเทพ ร่วมรบกับฝ่ายเการพ ถูกยุธิษฐิระฆ่าตายในวันสุดท้ายของสงคราม ๑๐. อัศวัตถามา ลูกชายของพราหมณ์โทรณา สู้ข้างฝ่ายเการพ เป็นผู้โจมตีค่ายปาณฑพยามค่ำคืนหลังสงครามยุติ ฆ่าธฤษฏะทยุมันตายเพื่อล้างแค้นให้บิดา ภายหลังถูกสาปไห้มีชีวิตต่อไปอีกสามพันปีโดยไม่มีใครรัก (ทางฮินดูเชื่อว่าเขายังมีชีวิตอยู่) ๑๑. กรรณะ โอรสพระนางกุนตี ถูกเลี้ยงโดยสารถี ภายหลังถูกแต่งตั้งไห้เป็นกษัตริย์แห่งแคว้นอังคะ เป็นแม่ทัพฝ่ายเการพหลังจากการตายของโทรณาจารย์ ถูกอรชุนฆ่าตายขณะที่ รถม้าของกรรณะติดหล่ม ๑๒. ฝ่ายเการพ พี่น้องฝ่ายเการพ คือโอรสและธิดาของท้าว ธฤตราษฎร์กับนางคานธารีจำนวนทั้งสิ้น ๑๐๑ องค์ ประกอบไปด้วย ทุรโยธน์ ผุ้เป็นพี่ชายคนโต ทุหศาสัน วิกรรณะ น้องชายอีก ๙๗ คน และน้องสาว ๑ คนคือ เจ้าหญิง ทุหศาลา นอกจากนี้ยังมีกรรณะ ผู้เป็นสหายของ ธุรโยซน์ ซึ่งตั้งตัวเป็นศัตรูกับฝ่ายปาณฑพรวมอยู่ด้วย หมายเหตุ คำว่าเการพนี้มีที่มาจากคำว่า กุรุราชวงศ์ #สงครามมหาภารตะ #ฐากูรราเชนทรสิงห์ #รอหลวงบวรวรรณรักษ์ #อิงประวัติศาสตร์ #อิงการเมือง #อิงวรรณคดี
เหลือเวลาอีก1 วัน
ตำราสรรพคุณยา
โปรโมชั่น
e-book
ตำราสรรพคุณยา

กรมหลวงวงศาธิราชสนิท

coin99 Coin5 Coin
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท อดีตอธิบดีแพทย์ในสมัย ร.๓-ร.๔ ท่านเป็นแพทยาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและเชี่ยวชาญในการแพทย์ไทย ตำราสรรพคุณยาของกรมหลวงวงศาธิราชสนิทเล่มนี้เป็นพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ผู้ทรงได้รับการยกย่องนับถือว่าเป็นแพทยาจารย์ในการแพทย์ไทย ท่านทรงค้นคว้า รวบรวม และอธิบายถึงสรรพคุณยาสมุนไพรไทยอย่างละเอียด ด้วยภาษาที่ง่ายและชัดเจน จำนวน ๑๖๖ ชนิด เช่น มะขามป้อม ดีปลี ขิงแห้ง ขิงสด สะค้าน เจตมูลเพลิงแดง พิมเสน กระวาน ผักชี ขมิ้นชัน สมอผลเล็ก สมอป่าผลใหญ่ ตรีผลา #ตำราสรรพคุณยา #กรมหลวงวงศาธิราชสนิท #ความรู้ทั่วไป #เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย #บทความ #ความเรียง
เหลือเวลาอีก1 วัน
Thong In ยอดนักสืบ เล่ม 2
โปรโมชั่น
e-book
Thong In ยอดนักสืบ เล่ม 2

นายเเก้ว นายขวัญ (รัชกาลที่ 6 )

coin99 Coin15 Coin
นิทานทองอิน ผู้แต่งใช้นามปากกาว่า "นายแก้ว นายขวัญ"ซึ่งเป็นพระนามแฝงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เนื้อเรื่องมีลักษณะเป็นเรื่องสั้น เป็นเรื่องประเภทสืบสวนสอบสวน โดยมีตัวละครเอกเป็นนักสืบเหมือน "เชอร์ลอกโฮลมส์"นิทานทองอิน มีนายทองอินเป็นตัวละครเอกรับงานราชการลับที่เรียกว่า"พลตระเวนลับ" คอยสืบข่าวต่าง ๆ ให้ทางราชการ นิทานทองอิน มีทั้งหมด ๑๕ ตอน #ThongInยอดนักสืบเล่ม2 #นายเเก้วนายขวัญรัชกาลที่6 #ตื่นเต้นผจญภัย #บู๊แอ็คชั่น #สืบสวนสอบสวน #ย้อนยุค
เหลือเวลาอีก1 วัน
ไซอิ๋ว ท่องพิภพสยบมาร
โปรโมชั่น
e-book
ไซอิ๋ว ท่องพิภพสยบมาร

อู๋ เฉิงเอิน (吳承恩)

coin99 Coin25 Coin
ไซอิ๋ว (西遊記; อังกฤษ: Journey to the West แปลตรงตัวว่า บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก) เป็นนิยายคลาสสิกของจีน แต่งขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1590 ช่วงราชวงศ์หมิง ประพันธ์โดย อู๋เฉิงเอิน ไซอิ๋วเป็นเรื่องของการเดินทางไปยังชมพูทวีป (อินเดีย) เพื่ออัญเชิญคัมภีร์พระพุทธศาสนาของหลวงจีนชื่อ พระถังซำจั๋ง (อ้างอิงจากผู้มีตัวตนจริง ในประวัติศาสตร์ มีนามว่าพระเสวียนจั้ง 玄奘大師) โดยมีสัตว์ 3 ตัวเป็น เพื่อนร่วมทาง คือ เห้งเจีย (ปีศาจลิง) ตือโป๊ยก่าย (ปีศาจหมู) และซัวเจ๋ง (ปีศาจทราย) ซึ่งระหว่างการเดินทางต้องพบกับการขัดขวางของเหล่าปีศาจมากมาย ด้วยเนื้อหาที่เป็นการผจญภัย และมีสัตว์เป็นตัวเอก ทำให้ไซอิ๋วได้รับความนิยมจากหมู่เยาวชนมากที่สุดในวรรณกรรมเอกทั้ง 4 เรื่อง เป็นหนึ่งในสี่ สุดยอดวรรณกรรมจีนร่วมกับสามก๊ก(三國演義) ความฝันในหอแดง (紅樓夢) และซ้องกั๋ง (水滸傳) การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง ดราก้อนบอล เป็นหนึ่งในงานที่ได้รับอิทธิพลจากไซอิ๋ว ตัวละครเอกของเรื่อง ซุนหงอคง ซุนหงอคง(孫悟空)หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ซุนเห้งเจีย(孫行者)ตั้งฉายาตัวเองว่าฉีเทียนต้าเซิ่ง/齊天大聖 (แปลว่า มหาเทพเสมอฟ้า) ในหนังสือยังเรียกอีกว่า วานรใจ(心猿),จินกง(金公) เป็นวานรหินที่เกิดจากศิลาวิเศษซึ่ง ปริแตกและโดนลม ณ ดินแดนตงเซิ่งเสินโจว/ตังเซ่งสิ่งจิว(東勝神洲) เมือง เง่าล่ายก๊ก(傲來國) ภูเขาฮวยก๊วยซัว(花果山) เป็นอ๋องปกครองอยู่ ณ ถ้ำม่านน้ำจุ๊ยเลียมต๋อง(水簾洞) สี่ห้าร้อยปี ภายหลังใช้เวลาแปดเก้าปี เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล ไปขอเป็นศิษย์ของพระอาจารย์สุภูติ (โผเถโจ๊ซือ/菩提祖師) ณ กายสิทธิ์มณฑป เขาองคุลีวงจันทร์ ถ้ำตรีดารา สำเร็จวิชาแปลงกายเจ็ดสิบสองอย่าง อาวุธที่ใช้คือแท่งเหล็กกายสิทธิ์ที่ได้จากวังมังกร ก็คือกระบองทองสารพัดนึก ในนิยายซ่อนนัยว่าเป็นธาตุทอง นับแต่นั้นเป็นต้นมา ซุนหงอคงอาละวาด แดนสวรรค์ ตั้งฉายาตัวเองว่ามหาเทพเสมอฟ้า ถูกพระยูไล ( พระตถาคต, พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในความเชื่อของพุทธมหายาน) สะกดเอาไว้ใต้ภูเขาเบญจคีรี ห้าร้อยปีให้หลัง พระถังซัมจั๋งเดินทางสู่ตะวันตกเพื่ออัญเชิญพระคัมภีร์ ระหว่างเดินผ่านภูเขาเบญจคีรี (ภูเขาห้ายอด) ดึงยันต์ศักดิ์สิทธิ์ออก ซุนหงอคงจึงรอดพ้น ซุนหงอคงซาบซึ้งบุญคุณ ภายหลังได้รับการชี้แนะของเจ้าแม่กวนอิม กราบพระถังเป็นอาจารย์ ได้ชื่อใหม่ว่า ซุนเห้งเจีย(孫行者) ร่วมเดินทางสู่ตะวันตก ตลอดเส้นทางอัญเชิญพระคัมภีร์ ซุนหงอคงปราบปีศาจสยบมาร ทำความชอบมากมาย กระนั้นก็ยังถูกพระถังซัมจั๋งผู้เป็นอาจารย์เข้าใจผิด ขับไล่ออกจากกลุ่มหลายครั้งหลายครา ในที่สุดคณะศิษย์อาจารย์ทั้งสี่ เดินทางจนถึงวัดลุ่ยอิม(雷音寺) ได้รับพระคัมภีร์ ผลบุญครบถ้วนสมบูรณ์ สำเร็จมรรคผล ได้รับการแต่งตั้งจาก พระยูไล ให้เป็นชนะศึกพุทธะ (鬥戰勝佛) ซุนหงอคงมีความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ ขี้เล่น กล้าหาญ มีความภักดี รังเกียจความชั่วร้าย ถือเป็นตัวแทนของปฏิภาณไหวพริบ สติปัญญาและความกล้าหาญในวัฒนธรรมจีน ดังนั้นซุนหงอคงจึงเป็นวีรบุรุษที่เด็กผู้ชายชาวจีนทั่วไปยกย่องชื่นชม ถังซัมจั๋ง พระถังซัมจั๋ง(唐三藏)ในนิยายเป็นตัวละครสมมติ มีความแตกต่างจากพระเสวียนจั้งในประวัติศาสตร์จริง พระถังซัมจั๋งในนิยายเดิมแซ่เฉิน มีชื่อว่ากังลิ้ว (江流兒) หรือผู้ลอยมากับแม่น้ำ มีนามในทางสงฆ์ว่าเสวียนจั้ง (玄奘) ได้รับฉายาซัมจั๋ง (三藏) ฮ่องเต้ถังไท่จงพระราชทานแซ่ถัง(唐) เป็นพระจินฉานจื่อ สาวกองค์ที่สองของพระยูไล กลับชาติมาเกิด ในนิยายซ่อนนัยว่าเป็นธาตุไฟ เขาเป็นบุตรที่ติดครรภ์ บิดามารดาประสบกับเคราะห์กรรมที่เลวร้าย เติบโตอยู่ในวัดตั้งแต่เด็ก เมื่อโตขึ้นออกบวชที่วัดฮั่วเซิงซื่อ สุดท้ายย้ายมาจำวัด ปฏิบัติธรรมอยู่ในวัดที่มีชื่อเสียงในนครหลวง พระถังขยันพากเพียร สติปัญญาสูงส่ง มีความโดดเด่นท่ามกลางหมู่สงฆ์ สุดท้ายได้รับเลือกโดยฮ่องเต้ถังไท่จง เข้าพิธีสาบานตนเป็น พี่น้องกัน ออกเดินทางสู่ตะวันตก เพื่ออัญเชิญพระคัมภีร์ ระหว่างการเดินทาง พระถังซัมจั๋งรับศิษย์ด้วยกันสามคน : ซุนหงอคง ตือโป๊ยก่าย ซัวเจ๋ง สุดท้ายผลบุญครบถ้วนสมบูรณ์ ได้รับการแต่งตั้งจากพระยูไล เป็นบุญกุศลพุทธะ (旃檀功德佛) มือถือคฑาเก้าห่วงที่เจ้าแม่กวนอิมประทานให้ กายห่มจีวรศักดิ์สิทธิ์ ตือโป๊ยก่าย ตือโป๊ยก่าย(豬八戒)เรียกตัวเองว่าจูกังเลี่ย/ตือกังเลี๊ยก(豬剛鬣) มีชื่อในทางสงฆ์ว่าจูอู้เหนิง/ตือหงอเหลง(豬悟能) ในหนังสือยังเรียกอีกว่า มู่หมู่ เดิมเป็นแม่ทัพเทียนฝง(天蓬元帥/ทีผ่งหง่วนส่วย)บนสวรรค์ แต่เนื่องจากลวนลามนางฟ้าฉางเอ๋อ(嫦娥) จึงถูกลงโทษให้มาเกิดบนโลกมนุษย์ แต่ผิดพลาดเข้าสู่ครรภ์หมู ทำให้กลายเป็นตัวคนหัวหมู นับแต่นั้นมาจึงขานแซ่ตนเองว่าจู/ตือ ซึ่งแปลว่าหมู เรียกตนเองว่าจูกังเลี่ย/ตือกังเลี๊ยก รับศีลถือบวชโดยเจ้าแม่กวนอิม ตั้งชื่อว่าอู้เหนิง/หงอเหลง แต่งงานกับลูกสาวชาวบ้านที่หมู่บ้านสกุลเกา/กอ (高)ต่อมาถูกหงอคงปราบ พระถังซัมจั๋งตั้งชื่อให้ใหม่ว่าตือโป๊ยก่าย(豬八戒) ในนิยายซ่อนนัยว่าเป็นธาตุไม้ ภายหลังผลบุญครบถ้วนสมบูรณ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพุทธพิธีทูต (淨壇使者) อาวุธของตือโป๊ยก่ายคือคราดเก้าซี่ มีชื่อเต็มว่า 上寶沁金鈀 ตือโป๊ยก่ายรู้เพียงวิชาแปลงกายสามสิบหกอย่าง ซาเหอซ่าง ซาเหอซ่าง(沙和尚)มีชื่อในทางสงฆ์ว่าซาอู้จิ้ง/ซัวหงอเจ๋ง(沙悟凈) ในนิยายใช้ชื่อว่าซัวเจ๋ง(沙凈) เดิมเป็นขุนศึกเปิดม่านบนสวรรค์ เนื่องจากทำโคมหลิวหลีแตกในงานเลี้ยงชุมนุมท้อทิพย์ ทำให้เจ้าแม่ซีหวังหมู่(西王母)โกรธ ถูกเนรเทศสู่โลกมนุษย์ เป็นปีศาจริมแม่น้ำหลิวซาเหอ จึงใช้ซา (ซัว) เป็นแซ่ ในนิยายซ่อนนัยว่าเป็นธาตุดิน รับศีลถือบวชโดยเจ้าแม่กวนอิม ตั้งชื่อว่าอู้จิ้ง ต่อมาพระถังซัมจั๋งรับไว้เป็นศิษย์ ตั้งชื่อให้ใหม่ว่าซาเหอซ่าง(沙和尚) อาวุธที่ใช้คือพลั่วพระธรรมปราบมาร ภายหลังผลบุญครบถ้วนสมบูรณ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอรหันต์ร่างทอง (金身羅漢)มีชื่อเต็มว่าโพธิสัตว์อรหันต์ร่างทองแปดรัตนะ (八寶金身羅漢菩薩) ม้ามังกรขาว ม้ามังกรขาว (白龍馬)เป็นโอรสองค์ที่สามของเจ้ามังกรเอ๋ายุ่น (เหง่าหยุ่ง/敖閏)แห่งทะเลตงไห่(東海)(เอ้า/เง๊า(敖)เป็นแซ่ของราชนิกูล เผ่าพันธุมังกรที่ปกครองทะเลทั้งสี่ทิศ) ในนิยายไม่ได้กล่าวถึงชื่อ และไม่ได้รับ การตั้ง "ชื่อในทางสงฆ์" ในนิยายซ่อนความหมายว่าเป็น "จิตอาชา" เนื่องจากจุดไฟเผาไข่มุกวิเศษของตำหนักมังกร มีโทษประหาร แต่เจ้าแม่กวนอิมช่วยไว้ สั่งให้รอคณะพระถังซัมจั๋งเดินทางผ่านมาอยู่ที่ภูเขาเสอผานซาน (蛇盤山)ภายหลังกินม้าขาวพาหะนะของพระถังซัมจั๋งลงไป ในนิยายซ่อนนัยว่าเป็นธาตุน้ำ หลังจาก พระถังซัมจั๋งรับไว้เป็นศิษย์ ได้ถอดเขาถอดเกล็ด แปลงกายเป็นม้าขาว (白馬) แทนที่พาหนะตัวเดิม เดินทางอัญเชิญพระคัมภีร์ ภายหลังผลบุญครบถ้วนสมบูรณ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นม้ามังกรสวรรค์แปดเหล่า (八部天龍馬) (ไซอิ๋วฉบับภาษาไทยแปลว่า หมู่นาคมหาเศรษฐี) ไม่มีอาวุธประจำตัว ในการออกฉากครั้งแรก ต่อสู้กับซุนหงอคงด้วยร่างมังกร ไม่ได้ใช้อาวุธ ต่อมาในการสู้รบกับปีศาจกุยมู่หลาง หลอกเอาดาบวิเศษมาจากปีศาจกุยมู่หลาง จึงใช้ดาบเป็นอาวุธ บนเส้นทางสู่ตะวันตก อัญเชิญพระคัมภีร์ สู้รบกับเหล่าปีศาจมารร้ายชนิดต่าง ๆ สุดท้ายไปถึงไซที (西天) อัญเชิญพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์กลับมา คณะศิษย์อาจารย์ทั้งห้า ใช้เวลาสิบสี่ปี ผจญเภทภัยเก้าเก้าแปดสิบเอ็ดประการ ส่วนที่คลาสสิกที่สุดได้แก่ซุนหงอคงอาละวาดแดนสวรรค์ (大鬧天宮)รับโป๊ยก่ายหมู่บ้านสกุลเกา(豬八戒重返高老莊)รับซัวเจ๋งแม่น้ำหลิวซาเหอ (流沙河收徒)สามสังหารปีศาจกระดูกขาว(三打白骨精)ผล ยิ่มเซียมก้วย(偷吃人叁果)ถ้ำแมงมุมผานซือต้ง(孫悟空大戰盤絲洞)ผจญภูเขาเปลวเพลิง(被困火焰山)ราชาวานรตัวจริงตัวปลอม (真假美猴王)เป็นต้น ระหว่างต่อสู้กับปีศาจมารร้าย แสดงให้เห็นความโดดเด่นต่าง ๆ ของคณะศิษย์อาจารย์ เรื่องราวสนุกสนาน ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี ก็ยังเหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย #ไซอิ๋วท่องพิภพสยบมาร #อู๋เฉิงเอิน吳承恩 #ตื่นเต้นผจญภัย #บู๊แอ็คชั่น #อิงศาสนา #เทพเซียน
เหลือเวลาอีก1 วัน
ละครแห่งชีวิต
โปรโมชั่น
e-book
ละครแห่งชีวิต

หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง

coin99 Coin25 Coin
เรื่องย่อ "ละครแห่งชีวิต" เปิดฉากด้วยภาคปฐมวัยสะท้อนภาพสังคมครอบครัวแบบระบบเจ้าขุนมูลนาย ซึ่ง "ด.ช.วิสูตร" มองว่าตัวเองช่างเป็นเด็กอาภัพนัก เหตุเพราะไม่เป็นที่โปรดของพ่อ เหมือนเป็นหมาหัวเน่า จะมีก็เพียง "ยายพร้อม" ที่เป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลและเฝ้าปลอบยามที่เขาทุกข์ใจ ยายพร้อมพูดกับเขาเสมอว่าเรื่อง "อาภัพ" และ "โชค" แม้ว่าเขาจะอาภัพในเรื่องความรักจากพ่อแม่ แต่เขาก็มีโชคทางการพนัน วิสูตรเป็นเด็กที่เกเร หัวเรือใหญ่ เจ้าคิดเจ้าแค้น และไม่เชื่อใจในเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พอเขาอายุได้ 17 ปี เพื่อนร่วมชั้นเรียนที่ชื่อ "ประดิษฐ์" ทำให้เขารู้จักกับคำว่า "มิตรภาพ" และ "น้ำใจ" อย่างแท้จริง ซึ่งในช่วงนี้วิสูตรกับแม่มีเหตุต้องขยับขยายออกจากคฤหาสน์ของพ่อเพื่อหลีกทางให้กับผู้หญิงที่สาวกว่า "วิสูตร" ตามแม่มาอยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกับประดิษฐ์ที่ฝั่งธนบุรี และได้บ่มเพาะความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ "ลำจวน" น้องสาวของประดิษฐ์ ต่อมาประดิษฐ์ได้รับทุนไปเรียนต่อที่เมืองนอก จึงทำให้เขาขาดเพื่อนคู่ใจ ส่วนลำจวนก็ตีจากไปคบกับ "ร้อยโทกมล" หนุ่มนักเรียนนอก จึงทำให้เขาคิดอยากจะ "ไปเมืองนอก" เพื่อแสวงหาความเจริญรุ่งเรืองของต่างบ้านต่างเมืองบ้าง เขาได้พบ "มาเรีย เกรย์" สาวนักหนังสือพิมพ์ลูกครึ่งอังกฤษอิตาเลียน ได้ชักชวนให้วิสูตรเข้าสู่วงการหนังสือพิมพ์ โดยใชนามปากกา "บ็อบบี้" ชีวิตช่วงนี้ของเขาเต็มไปด้วยเรื่องการผจญภัยกับได้เรียนรู้สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ได้มีโอกาสไปประเทศต่างๆ ได้สัมภาษณ์บุคคลสำคัญระดับโลก อิ่มเอิบกับความรักและมิตรภาพในแวดวงของคนหนังสือพิมพ์และได้สัมผัสกับผู้หญิงอีกหลายคน จุดหักเหของชีวิตมาถึงเมื่อวิสูตร "ประสบอุบัติเหตุ" ทำให้ต้องเลิกอาชีพนักหนังสือพิมพ์ สุขภาพทรุดโทรม ฐานะการเงินตกต่ำ จึงตัดสินใจไปตายดาบหน้าเดินทางไปเผชิญโชคในอเมริกา ซึ่งเขาได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงเรียนวิชาต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยยอร์จทาวน์ แต่ก็ไม่สามารถเรียนได้ เพราะสายตาได้รับความกระทบกระเทือนจากอุปัทวเหตุรถยนต์ในครั้งนั้น เขาจึงทิ้งชีวิตนักเรียนนอกพร้อมเดินทางกลับบ้านเกิด เขาได้ผ่านญี่ปุ่นและจีน โดยมี "พอลลี เดอร์คลูด" ลูกสาวนักค้าของเก่าเป็นเพื่อนร่วมทาง วิสูตรและมาเรียพบกันเป็นครั้งสุดท้ายที่ท่าเรือเมืองเซียงไฮ้ เวลา 6 ปีที่ใช้ชีวิตในต่างแดน การกลับเมืองไทยครั้งนี้เขาไม่ได้มองว่าตนเป็นคนอาภัพอีกต่อไป เขากลับเข้าไปอยู่บ้านเดิมของพ่อ และเข้ากับพี่น้องได้ดี เขาไม่มีความน้อยใจที่ยากจน เพราะถือว่าประสบการณ์ที่เห็นสิ่งดีงามมามาก แล้วทั่วโลกสำคัญกว่าความยากดีมีจน สิ่งที่เขาค้นพบจากการแสวงหาอันยาวนาน นี้ก็คือ "การรู้จักตนเองและเพื่อนร่วมโลกมากขึ้น และสามารถปรับตนให้เป็นคนในสังคมได้มากขึ้น" #ละครแห่งชีวิต #หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง #รักวัยรุ่น #พีเรียด #ไทยโบราณ #ฟีลกู๊ด
โหลดเพิ่มเติม

หมวดหมู่หลัก

หมวดหมู่ย่อย