สงครามมหาภารตะ
โปรโมชั่น
e-book
สงครามมหาภารตะ
โปรโมชั่นเหลือเวลาอีก 14 วัน
coin
99 Coin25 Coin
ฐากูรราเชนทรสิงห์ เเปล: ร.อ.หลวงบวรวรรณรักษ์

สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์ล้มลุกบุ๊ค

E-Book

ประเภทหนังสือ

PDF

ประเภทไฟล์

185

จำนวนหน้า

22/06/2024

วันที่วางขาย

เรื่องย่อ
"มหาภารตยุทธ์" เป็นวรรณคดีอินเดียที่ชาวอินเดียแทบทุกคนต้องรู้จัก เป็นวรรณคดีที่บอกเล่าเรื่องราว การยุทธ์หรือการสงคราม ของชาวอินเดียตอนเหนือที่มักมีการรบพุ่งฆ่าฟันกัน และปรากฏสงคราม ครั้งใหญ่ขึ้นในช่วงก่อน พ.ศ. ประมาณ ๘๐๐ หรือ ๙๐๐ ปี. มหาภารตะ (महाभारत) บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า "ภารตะ" เป็นหนึ่งในสอง ของมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย (มหากาพย์อีกเรื่องคือ รามายณะ) มหากาพย์เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งของ เทพปกรณัมในศาสนาฮินดู ในตามตำนานกล่าวว่าผู้แต่งมหากาพย์เรื่องนี้คือ ฤๅษี กฤษณไทวปายน หรือฤๅษีวยาส เชื่อกันว่าแต่งไว้ราว ๘๐๐-๙๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก ด้วยมีจำนวนคำ ๑.๘ ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณ มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องเกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น มหาภารตะ เป็นเรื่องราวความขัดแย้งของพี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็ สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตรของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะและฝ่ายอธรรม ความดีและความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้ ตัวละคร ๑. ท้าวภีษมะ โอรสองค์ที่แปดของพระราชาศานตนุ ภายหลังได้สละสิทธิ์การครองราชย์ เป็นผู้ดูแลราชบัลลังก์กุรุสู้ร่วมกับฝ่ายเการพ ภีษมะถือเป็นแบบอย่างของการเสียสละ ความรับผิดชอบ และความอดทน ๒. ท้าวทรุปัท พระราชาแห่งแคว้นปัลจาละ มีโอรสธิดาสามองค์ คือ ศิขัณฑิน ธฤษฏะทยุมัน เทราปที ถูกโทรณาจารย์ฆ่าตาย พ่อตาฝ่ายปาณฑพ ๓. ธฤษฏะทยุมัน โอรสองค์โตของท้าวทุรบท เป็นผู้สังหารโทรณาจารย์ในสงคราม ๔. ศิขัณฑิน ชาติที่แล้วคือเจ้าหญิงอัมพา กลับมาเกิดเป็นหญิง ภายหลังแลกเพศกับอสูร เป็นคนสำคัญที่ช่วยอรชุนสังหาร ภีษมะ ๕. เทราปตี (อ่านว่า ทะเรา-ปะ-ตี) ธิดาท้าวทรุปัท ภายหลังเป็นชายาของอรชุนและพี่น้อง ๖. พระกฤษณะ อวตารของพระวิษณุ สหายของอรชุน เป็นผู้ให้การสนับสนุนชี้นำฝ่ายปาณฑพ ๗. พระพลราม อวตารของพระอนันตนาคราช(บังลังก์ของ พระวิษณุอันเป็นนาค) พี่ชายพระกฤษณะ เป็นอาจารย์ของ ภีมะและทุรโยธน์ ๘. โทรณาจารย์ (อ่านว่า โท-ระ-นา-จาน) พระอาจารย์ของอรชุนและเหล่ากษัตริย์ที่ร่วมรบในสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร ๙. ท้าวศัลยะ พี่ชายพระนางมาทรี เป็นลุงของนกุลและสหเทพ ร่วมรบกับฝ่ายเการพ ถูกยุธิษฐิระฆ่าตายในวันสุดท้ายของสงคราม ๑๐. อัศวัตถามา ลูกชายของพราหมณ์โทรณา สู้ข้างฝ่ายเการพ เป็นผู้โจมตีค่ายปาณฑพยามค่ำคืนหลังสงครามยุติ ฆ่าธฤษฏะทยุมันตายเพื่อล้างแค้นให้บิดา ภายหลังถูกสาปไห้มีชีวิตต่อไปอีกสามพันปีโดยไม่มีใครรัก (ทางฮินดูเชื่อว่าเขายังมีชีวิตอยู่) ๑๑. กรรณะ โอรสพระนางกุนตี ถูกเลี้ยงโดยสารถี ภายหลังถูกแต่งตั้งไห้เป็นกษัตริย์แห่งแคว้นอังคะ เป็นแม่ทัพฝ่ายเการพหลังจากการตายของโทรณาจารย์ ถูกอรชุนฆ่าตายขณะที่ รถม้าของกรรณะติดหล่ม ๑๒. ฝ่ายเการพ พี่น้องฝ่ายเการพ คือโอรสและธิดาของท้าว ธฤตราษฎร์กับนางคานธารีจำนวนทั้งสิ้น ๑๐๑ องค์ ประกอบไปด้วย ทุรโยธน์ ผุ้เป็นพี่ชายคนโต ทุหศาสัน วิกรรณะ น้องชายอีก ๙๗ คน และน้องสาว ๑ คนคือ เจ้าหญิง ทุหศาลา นอกจากนี้ยังมีกรรณะ ผู้เป็นสหายของ ธุรโยซน์ ซึ่งตั้งตัวเป็นศัตรูกับฝ่ายปาณฑพรวมอยู่ด้วย หมายเหตุ คำว่าเการพนี้มีที่มาจากคำว่า กุรุราชวงศ์
หมวดหมู่
อิงประวัติศาสตร์
อิงการเมือง
อิงวรรณคดี