ฮ่องสิน สงครามเทพเจ้า
โปรโมชั่น
e-book
ฮ่องสิน สงครามเทพเจ้า
โปรโมชั่นเหลือเวลาอีก 15 วัน
coin
99 Coin30 Coin
สฺวี่ จ้งหลิน (許仲琳)

สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์ล้มลุกบุ๊ค

E-Book

ประเภทหนังสือ

PDF

ประเภทไฟล์

635

จำนวนหน้า

22/06/2024

วันที่วางขาย

เรื่องย่อ
ฮ่องสิน หรือ เฟิงเฉิน แปลตรงตัวว่า สถาปนาเทวดา (Investiture of Gods) เป็นนิยายจีนซึ่งประพันธ์ขึ้นในช่วงราชวงศ์หมิง มีทั้งสิ้นหนึ่งร้อยตอน จัดพิมพ์ครั้งแรกราวทศวรรษที่ ๑๕๕๐ และจัดอยู่ในประเภทนิยายภูตผีปีศาจ (神魔小說; gods and demons fiction) นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการลงความเห็นว่า ผู้เขียนนิยายนี้ คือ สฺวี่ จ้งหลิน (許仲琳) ซึ่งเขียนทั้งสิ้น ๑๐๐ ตอน สำหรับในประเทศไทย เรื่องฮ่องสิน สันนิษฐานว่า แปลเมื่อรัชกาลที่ ๒ เป็นหนังสือสี่สิบสามเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ เป็นสมุดสองเล่ม โดยคณะผู้แปลและเรียบเรียง ได้ แก่ กรมหมื่นนเรศโยธี เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ พระยาฎึกราชเศรษฐี พระทองสื่อ จมื่นไวยวรนาท หลวงลิขิตปรีชา หลวงวิเชียรปรีชา หลวงญาณปรีชา ขุนมหาสิทธิโวหาร นายจ่าเรศ นายเล่ห์อาวุธเป็นผู้แปล ในปีพ.ศ. ๒๓๖๒ ซึ่งแปลพร้อมกับวรรณกรรมแปลพงศาวดารจีนเรื่องเลียดก๊ก ฮ่องสินนี้มีอิทธิพลต่อวรรณกรรมไทยประเภทนิทานเรื่องหนึ่ง คือโกมินทร์กุมาร คาดว่าผู้แต่งได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมแปลพงศาวดารจีนเรื่องฮ่องสิน เพราะบทบาทของนาจา รวมทั้งตัวละครประกอบอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับนาจาที่เป็นทั้งมิตรและศัตรูมีบทบาทคล้ายคลึงกับ บทบาทของโกมินทร์รวมทั้งตัวละครประกอบอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับโกมินทร์ โดยคาดว่าผู้แต่งน่าจะแต่งขึ้นภายหลังยุครัชกาลที่ ๕ ขึ้นครองราชย์เนื่องจากตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ ๕-๗ เป็นระยะเวลาที่มีผู้นิยมแต่งนิทานหลายประเภท และเป็นยุคที่วงการสำนักพิมพ์ในประเทศไทยกำลังเฟื่องฟูซึ่งเนื้อเรื่องของฮ่องสิน เล่าถึง พระเจ้าโจ้ว แห่งราชวงศ์ซาง เสด็จไปไหว้นางฟ้านฺหวี่วา (หนี่วา) ที่วัด ทรงเห็นรูปสลักนางงดงาม ก็เขียนโคลงแสดงความกำหนัดที่มีต่อนางไว้บนฝาวัด นางฟ้าจึงส่งปิศาจจิ้งจอก (ฉบับแปลไทยว่า เสือปลา) ผีไก่ฟ้าเก้าหัว (แปลไทยว่า ไก่เก้าหัว) และภูตพิณหยก (ฉบับแปลไทยว่า กระจับปี่) มาล่อลวงพระเจ้าโจ้วให้ถึงแก่ความวิบัติ ปิศาจจิ้งจอกได้มาสิงร่างหญิงสาวชื่อ ต๋าจี่ (ขันกี) หนึ่งคืนก่อนที่บิดาจะพานางเข้าถวายตัว นางต๋าจี่ทำให้พระเจ้าโจ้วลุ่มหลงจนละเลยราชการ และบริหารบ้านเมืองอย่างโฉดเขลา ไพร่ฟ้าจึงก่นด่าทั้งแผ่นดิน ข้าราชการผู้ใดว่ากล่าวทัดทานพระองค์ ก็โปรดให้ลงโทษถึงตายด้วยวิธีต่าง ๆ ตามคำนางต๋าจี่ เช่น ให้สร้างเสาทองแดง เอาถ่านสุมจนเสาร้อน แล้วเอาข้าราชการล่ามโซ่ไปนาบเสาจนตาย กลิ่นศพตระหลบไปทั้งวัง และยังให้ขุดเหวหน้าพระที่นั่ง เอางูมาใส่จนเต็ม แล้วโยนข้าราชการลงไปให้งูกิน แม้พระอัครมเหสีเจียง (เกียง) ก็ถูกนางต๋าจี๋ยุยงให้ลงโทษควักลูกตารีดเอาคำสารภาพว่าเป็นกบฏ พระนางไม่ยอมรับ ก็โปรดให้เอานาบเสาทองแดง แต่พระนางสิ้นพระชนม์เสียก่อนครั้งหนึ่ง พระเจ้าโจ้วพิโรธจี ชาง (กีเซียง) เจ้าเมืองขึ้นเมืองหนึ่ง พระเจ้าโจ้วจึงสั่งขังจี ชาง ไว้ที่เมืองโหยวหลี่ ต่อมา ปั๋ว อี้เข่า (เปกอิบโค้) ลูกชายหัวปีของจี ชาง มาทูลขอให้ปล่อยบิดา นางต๋าจี่เห็นปั๋ว อี้เข่า รูปงาม ก็มีใจปฏิพัทธ์ และขอให้พระเจ้าโจ้วให้เขาเข้าวังมาสอนนางเล่นพิณกู่ฉิน แล้วนางก็ยั่วยวนปั๋ว อี้เข่า แต่เขาบอกปัดความรักของนาง นางจึงทูลยุยงพระเจ้าแผ่นดินให้สั่งประหารเขา แล้วให้เอาศพไปทำขนมเปี๊ยะให้จี ชาง กิน จี ชาง ทราบเหตุการณ์ทั้งหมดดี แต่จำยอมบริโภคขนมเปี๊ยะนั้นเพื่อรอวันล้างแค้นภายหน้า ต่อมา พระเจ้าโจ้วโปรดให้จี ชาง พ้นโทษ จี ชาง จึงลักลอบซ่องสุมกำลังพลเพื่อโค่นล้มพระเจ้าโจ้ว เวลานั้น บัณฑิตคนหนึ่งชื่อ เจียง จื่อหยา (เกียงจูแหย) เป็นศิษย์ของนักพรตที่เรียกตนว่า บรรพเทวกษัตริย์ ร่ำลาอาจารย์มาตามหาเจ้านายที่แท้จริง วิธีตามหาของเขา คือ นั่งอยู่เหนือน้ำราวสามฟุต แล้วหย่อนเบ็ดลงไปในน้ำโดยไม่ใส่เหยื่อ ชาวบ้านชาวช่องเห็นก็แปลกใจจึงพากันมาถามไถ่ เขาว่า เขามิได้กำลังตกปลา แต่กำลังตกราชาและผู้กล้าทั้งหลาย เรื่องราวของเขาร่ำลือไปถึงจี ชาง จี ชาง ฟังแล้วก็สนใจ จึงแวะเวียนมาหาเจียง จื่อหยา และขอให้เขามาร่วมก่อการ เจียง จื่อหยา ขอให้จี ชาง ช่วยเขาเข็นเกวียนก่อน จี ชาง ก็ช่วยเข็นไปได้แปดร้อยก้าว เจียง จื่อหยา ก็ทำนายว่า จี ชาง จะได้ตั้งราชวงศ์ใหม่ และราชวงศ์นี้จะยืนยาวไปแปดร้อยปี เจียง จื่อหยา ตกลงมาเป็นที่ปรึกษาให้จี ชาง จี ชาง ก็เปิดศึกกับพระเจ้าโจ้วเต็มตัว แต่จี ชาง สิ้นลมก่อนการสำเร็จ จี ฟา (กีฮวด) บุตรคนรองของเขา จึงสานต่อเจียง จื่อหยา ใช้กระดูกเสี่ยงทายว่า ข้าราชการคนสำคัญของพระเจ้าโจ้วกำลังสิ้นไป หนึ่งในนั้น คือ ปี่ กั้น (ปิกัน) เจียง จื่อหยา ได้พบและมอบเครื่องรางให้ปี่ กั้น ไว้คุ้มภัย พร้อมกับให้คำแนะนำบางอย่างไว้ อย่างไรก็ดี คืนหนึ่ง เทวดาหลายองค์มาร่วมโต๊ะเสวยกับพระเจ้าโจ้ว ปี่ กั้น เห็นผิดสังเกตและทราบว่า เป็นปิศาจจิ้งจอกแปลงมา ปี่ กั้น ก็รอให้ปิศาจเหล่านั้นกลับรัง ก่อนสั่งให้ทหารฆ่าทิ้งเสียให้หมด ปี่ กั้น นำขนจิ้งจอกมาทำภูษาถวายพระเจ้าโจ้ว นางต๋าจี่เห็นขนของเพื่อนปิศาจจิ้งจอกก็แค้นใจ นางจึงทูลพระเจ้าแผ่นดินว่า นางมีโรคหัวใจซึ่งรักษาได้ก็แต่โดยการบริโภค "หัวใจพิสุทธิ์เจ็ดห้อง" (ฉบับแปลไทยว่า ตับมังกร) และปี่ กั้น ซึ่งผู้คนนับถือกันเสมือนพ่อพระ มีหัวใจเช่นนั้น พระเจ้าโจ้วจึงเรียกให้ปี่ กั้น แสดงความจงรักภักดี ปี่ กั้น ได้ฟังก็รำลึกถึงคำแนะนำของเจียง จื่อหยา ก็กลืนเครื่องรางนั้นลงท้อง แล้วควักหัวใจตนเองออกมาถวาย โลหิตไม่หยาดสักหยด และปี่ กั้น มิได้เป็นอันตรายอย่างใดเลย ครั้นแล้ว ปี่ กั้น ก็เดินออกจากวัง เจียง จื่อหยา ห้ามปี่ กั้น เหลียวหลังกลับไปมองอีกจนกว่าจะถึงบ้าน จึงจะรอดชีวิต ขณะที่ใกล้จะถึงบ้านอยู่แล้วนั้นเอง แม่ค้าคนหนึ่งร้องว่า มีกะหล่ำไร้หัวใจมาขาย ปี่ กั้น ได้ฟังก็ฉงน จึงหันไปดูแล้วถามว่า กะหล่ำไร้หัวใจคืออะไร หญิงนั้นก็ตอบว่า กะหล่ำไร้หัวใจก็เหมือนคนไร้หัวใจ กะหล่ำอยู่ไม่ได้ถ้าไร้หัวใจฉันใด คนก็อยู่ไม่ได้ถ้าไร้หัวใจฉันนั้น พอหญิงแม่ค้าพูดจบ ปี่ กั้น ก็ล้มลงตาย หญิงนั้นก็คืนร่างเดิม คือ ภูตพิณหยกเนื้อหาต่อมาพรรณนาสงครามระหว่างฝ่ายทั้งสองซึ่งมีการเรียกเทวดาตลอดจนภูตผีปิศาจมาช่วยรบ ในการนี้ บรรพเทวกษัตริย์ อาจารย์ของเจียง จื่อหยา ได้มอบบัญชีเทวดามาให้เจียง จื่อหยา เรียกใช้ เจียง จื่อหยา ได้ใช้บัญชีนั้นตั้งขุนศึกทั้งฝ่ายซางและโจ้วขึ้นเป็นเทวดามารับราชการ ที่สุดแล้ว กองทัพจี ฟา ทำลายพระมหากษัตริย์ได้เป็นผลสำเร็จ และสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์โจว โดยมีเจียง จื่อหยา เป็นเจ้าพระยามหาอุปราชคนแรก ฮ่องสิน นับเป็นวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่เทียบเท่าอีเลียดของกรีก และมหาภารตยุทธ์ของอินเดีย ทั้งยังสอดแทรกหลักธรรมของขงจื๊อ พุทธ และเต๋าในเนื้อหา ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมจีน เนื้อเรื่อง อิงประวัติศาสตร์การศึกยุคสร้างชาติ มีทั้งเรื่องของผู้คนและภูติเทพ แนวคิดทางปรัชญา ปัจจุบันฮ่องสินมีพิมพ์จำหน่ายโดย สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ ฉบับตีพิมพ์ปี ๒๕๔๙ และถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ล่าสุดเมื่อปี ๒๐๑๖ ใช้ชื่อว่า League Of Gods สงครามเทพเจ้า นำแสดงโดย เจ็ท ลี โทนี่เหลียง เจียฮุย ฟ่านปิงปิง และ กู่เทียนเล่อ
หมวดหมู่
แฟนตาซี/พารานอร์มัล
อิงประวัติศาสตร์
แนวจีนโบราณ