สุภาษิตเล่าจื๊อ
โปรโมชั่นเหลือเวลาอีก 14 วัน
กาญจนาคพันธ์
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์ล้มลุกบุ๊ค
E-Book
ประเภทหนังสือ
ประเภทไฟล์
48
จำนวนหน้า
22/06/2024
วันที่วางขาย
เรื่องย่อ
หนังสือเล่มนี้เป็นสุภาษิตคำสอนของท่านเล่าจื๊อ
เล่าจื๊อ (พินอิน: Lǎo zǐ; อังกฤษ: Lao Zi หรือ Lao Tzu) นักปรัชญาชาวจีนที่มีชื่อเสียงที่สุดท่านหนึ่ง เชื่อกันว่ามีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ ๖ ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงของสงครามปรัชญา และสงครามการเมืองยุคชุนชิว เล่าจื๊อได้เขียนตำราอันเป็นแบบแผนในทางเต๋า นั่นคือ "เต้าเต๋อจิง" (道德經)
ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนาเต๋าที่ยังคงตกทอดมาถึงยุคปัจจุบันนี้ เล่าจื๊อเป็นนักปราชญ์ที่เชี่ยวชาญทางเต๋า ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เรารู้จักเล่าจื๊อ (เหลาจื่อ) น้อยมาก แต่มีพงศาวดารจีนหลายชิ้นที่กล่าวถึงเล่าจื๊อ ในฐานะที่เป็นผู้แต่งคัมภีร์
เต๋าเต็กเก็ง หรือ เต้าเต๋อจิง ซึ่งเนื้อหาในคัมภีร์นี้ มีความสำคัญกับวัฒนธรรมจีนในรุ่นต่อๆมาอย่างมาก ถือได้ว่าเทียบเท่าได้กับ ขงจื๊อ ตามพงศาวดารระบุไว้ว่า เล่าจื๊อ เกิดในแคว้นขู่ (苦縣) ซึ่งในปัจจุบันคือบริเวณ อำเภอลู่อี้
(鹿邑) ของมณฑลเหอหนาน บางตำนานกล่าวไว้ว่าเล่าจื๊อเมื่อเกิดมามีผมสีขาว และอยู่ในครรภ์มารดานานถึง ๘ ทศวรรษ หรือ ๘๐ ปี ชื่อของเล่าจื๊อแปลโดยนัยได้ ๒ แบบว่า "อาจารย์ผู้อาวุโส" หรือ "เด็กผู้อาวุโส" เกิดที่หมู่บ้าน
ชีเหยินลี อำเภอขู่เสี้ยน แคว้นฉู่ เมื่อวันที่ ๑๕ เดือนยี่ ก่อน ค.ศ.ราว ๕๗๖ ปี (ก่อน พ.ศ. ๓๓ ปี)
จากพงศาวดารของซือหม่า เชียน กล่าวว่า เล่าจื๊อมีอายุมากกว่าขงจื๊อ แต่อยู่ในยุคสมัยเดียวกัน และเคยได้พบปะเสวนากัน เล่าจื๊อได้ทำงานในราชวงศ์โจว ขงจื๊อและเล่าจื๊อได้มาพบเจอโดยบังเอิญกันในแคว้นโจว (ปัจจุบันคือแถบเมืองลั่วหยาง) โดยขงจื๊อได้มาค้นหาตำราในห้องสมุด จากเรื่องเล่านี้ ทั้งสองได้แลกเปลี่ยนทรรศนะคติความเห็นในหลาย ๆ ด้าน เป็นเวลาหลายเดือน หลังจากการเสวนาในครั้งนี้ ขงจื๊อกล่าวว่า "การได้เสวนากับท่านเล่าจื๊อ ถือว่าเป็นการศึกษาที่ล้ำลึก และดีเยี่ยมกว่าหนังสือในห้องสมุดเสียอีก"
ผลงานที่สำคัญที่สุดของเล่าจื๊อคือ "คัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง หรือ เต้าเต๋อจิง" เป็นคัมภีร์ที่มีอักษรจีน ๕,๐๐๐ อักษร ซึ่งมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของประเทศจีนอย่างมาก โดยภายในคัมภีร์นั้น มีเนื้อหาในด้านปรัชญาบุคคล ความกลมกลืนต่อการใช้ชีวิตกับธรรมชาติ จนไปถึงปรัชญาการเมือง
จากการตีความ คำว่า "เต๋า" ในคัมภีร์ มักจะหมายถึง มรรค หรือ หนทาง (The way) หรือ ธรรม ซึ่งมีความหมายกว้าง ๆ และมักตีความหมายในแนวเป็นไปตามธรรมชาติ การกระทำที่สอดคล้องกับวิถีแห่งเต๋าใด ๆ จะสามารถบรรลุมรรคผลได้โดยง่าย เล่าจื๊อเชื่อว่า ควรหลีกเลี่ยงความรุนแรงต่าง ๆ เท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนคำว่า "เต็ก หรือ เต๋อ" นั้นหมายถึง "คุณธรรม" คัมภีร์นี้แบ่งออกเป็น ๘๑ บทด้วยกัน
ถึงแม้ว่าเล่าจื๊อจะไม่ได้ปลูกฝังวัฒนธรรมหยั่งลึกได้เทียบเท่ากับ ขงจื๊อ ในอารยธรรมจีน แต่ท่านก็ยังเป็นที่เคารพนับถือโดยทั่วไป แม้แต่ขงจื๊อยังเรียกท่านว่าอาจารย์ทั้งแนวความคิดและการปฏิบัติตามหนทางแห่งเต๋า
ผู้ติดตามเล่าจื้อที่มีชื่อเสียงที่สุดคือจวงจื๊อ (Zhuang Zi) ได้เขียนตำราที่มีอิทธิพลต่อวงการวรรณกรรมของจีนมาก โดยให้ข้อคิดเกี่ยวกับ ปัจเจกนิยม, วิมุตติ และ ความปราศจากกังวล
หมวดหมู่
เพื่อชีวิต
เสียดสีสังคม
อิงศาสนา